ถ้ำหลวง หรือ อุทยานแห่งชาติ ถ้ำหลวง – ขุนน้ำนางนอน ได้รับความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ครม.ให้ความเห็นชอบเสนอเป็น อุทยานแห่งอาเซียน
อุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน มีเนื้อที่ 5,000 ไร่ ตั้งอยู่ในตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ความสูงโดยเฉลี่ย 779 เมตร และลาดชันมาทางทิศตะวันออก มีความยาวถ้ำประมาณ 10.3 กม. และความยาวถ้ำเป็นอันดับ 4 ของประเทศไทย ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติ ถ้ำหลวง – ขุนน้ำนางนอน กำลังอยู่ระหว่างรอประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยก่อนหน้านี้เป็นเพียง วนอุทยาน
นิเวศวิทยาของอุทยานแห่งชาติ ถ้ำหลวง – ขุนน้ำนางนอน
คาดการณ์ว่าการเกิดของแนวเทือกอุทยานเกิดขึ้นจาก การยกตัวของพื้นทวีปเนื่องจากแรงดันของหินหนืดใต้ผิวโลก กระบวนการนี้ต้องใช้เวลานานมาก ซึ่งโดยส่วนใหญ่ ภูเขาที่เกิดด้วยวิธีนี้จะเป็นเทือกเขาแนวยาว เช่น การเกิดเทือกเขาทางภาคเหนือและภาคใต้ของไทย
ป่า ภายในอุทยานแห่งชาติ ถ้ำหลวง – ขุนน้ำนางนอน มีลักษณะเป็นป่าเบญจพรรณค่อนข้างสมบูรณ์ จัดได้ว่าเป็นอุทยานที่มีความหลากหลายทางนิเวศ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีความสมบูรณ์ของหินงอกหินย้อยภายในถ้ำต่างๆทั่วทั้งอุทยาน อีกทั้งยังมีความหลากหลายทางธรณีวิทยา ในขณะเดียวกันยังมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมโดยรอบ โดยมีประชากรกลุ่ม ชาติพันธุ์มากกว่า 10 ชนเผ่า อาศัยตัั้งรกรากอยู่บริเวณโดยรอบอีกด้วย
จากข้อมูลเบื้องต้นนี้ทำให้ ครม.มีมติเห็นชอบให้ เสนอเป็น อุทยานแห่งอาเซียน โดยเชื่อว่า หากได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการอาเซียน ก็จะยิ่งทำให้ ถ้ำหลวง ยิ่งมีชื่อเสียงมากขึ้นไปอีก ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคการท่องเที่ยว โดยคาดการ์ณว่า จะมีนักท่องเที่ยวมากกว่า วันละ 4000-5000 คนต่อวัน
ติดตามข่าวสารร้อนๆได้ที่ >> ข่าวเด่นวันนี้
ขอบคุณที่มา>> มติชน