สธ. ย้ำ โควิด ทุกคนให้ป้องกันตนเองสูงสุดต่อเนื่อง แม้กับคนภายในครอบครัว
สธ. ย้ำ โควิด ทุกคนให้ป้องกันตนเองสูงสุดต่อเนื่อง ผู้เสียชีวิตด้วยโอมิครอน 2 ราย ติดเชื้อจากการสัมผัสคนในครอบครัว ปัจจัยเสี่ยงเป็นผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัว ย้ำ ทุกคนป้องกันตัวเองสูงสุดแม้คนในครอบครัว
วันที่ 17 ม.ค. ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน แถลงสถานการณ์โควิด-19 ว่า สถานการณ์ในประเทศไทยในวันนี้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 6,929 ราย
จังหวัดที่มีอัตราการติดเชื้อสูงสุด ได้แก่ กทม. สมุทรปราการ ชลบุรี ภูเก็ต นนทบุรี และขอนแก่น ซึ่งยังคงพบคลัสเตอร์ต่อเนื่อง เช่น ร้านอาหาร สถานบันเทิง โรงงาน สถานประกอบการ ตลาด งานสังสรรค์ พิธีกรรมทางศาสนา ค่ายทหาร นอกจากนี้ ยังมีการติดเชื้อในบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถานพยาบาล ได้เข้มงวด และให้ระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อลดผลกระทบในการให้บริการแก่ผู้ป่วย ส่วนจังหวัดนำร่องท่องเที่ยวไม่พบการติดเชื้อเพิ่มขึ้น เนื่องจากไม่ได้รับผู้เดินทางจากต่างประเทศเพิ่ม
โควิด-19ติดตาม
17 ม.ค. 65
“นิพนธ์” ผลตรวจเป็นลบ ปชป.ไม่พบใครติดโควิด นอกจาก “เดชอิศม์” คนเดียว
17 ม.ค. 65
ยัน “เดชอิศม์” ติดโควิด ทำว่าที่ ส.ส.สงขลา คน ปชป.ต้องกักตัว-เร่งตรวจเชื้อ
17 ม.ค. 65
“อนุทิน” มั่นใจ สธ.ควบคุม “โอมิครอน” ได้ แต่ “ผับบาร์” ยังต้องรอก่อน
ดูทั้งหมด
นายแพทย์เฉวตสรร กล่าวต่อว่า ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา พบผู้ติดเชื้อที่มีอาการปอดอักเสบลดลง ช่วงกลางสัปดาห์และเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจมีอัตราลดลง ส่วนอัตราผู้เสียชีวิตยังอยู่ในระดับต่ำคงตัว ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดี โดยในวันนี้มีผู้เสียชีวิต 13 ราย ในจำนวนนี้ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนถึง 11 ราย หรือร้อยละ 85 และส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุเฉลี่ย 82 ปี
สำหรับกรณีผู้เสียชีวิตด้วยสายพันธุ์โอมิครอน 2 รายนั้น รายแรกเป็นหญิงไทย อายุ 86 ปี จ.สงขลา มีโรคประจำตัว คือ โรคอัลไซเมอร์ และเป็นผู้ป่วยติดเตียง ได้รับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์แล้ว 2 เข็ม ได้รับเชื้อจากบุคคลในครอบครัว มีอาการไข้ มีเสมหะ ผลเอกซเรย์พบความผิดปกติในเนื้อปอด ต้องใส่ท่อช่วยหายใจและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ส่วนรายที่ 2 เป็นหญิงไทย อายุ 84 ปี จ.อุดรธานี มีโรคประจำตัวคือ มะเร็งปอดระยะสุดท้าย เป็นผู้ป่วยติดเตียง ได้รับเชื้อจากบุคคลในครอบครัวเช่นกัน ไม่มีประวัติการได้รับวัคซีน ผู้ป่วยและญาติแยกกักรักษาตัวที่บ้าน และปฏิเสธการรักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยให้ยาตามแผนการรักษาและติดตามต่อเนื่อง ระดับออกซิเจนลดลง หายใจหอบเหนื่อยและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงของทั้ง 2 ราย คือ เป็นผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัว จึงต้องขอย้ำให้ใช้มาตรการป้องกันตัวเองสูงสุดกับทุกคน แม้เป็นคนในครอบครัว และเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ทั้งเข็มปกติและเข็มกระตุ้นตามกำหนด เพื่อเสริมสร้างภูมิคุมกัน ลดอาการป่วยรุนแรงและเสียชีวิต
โดยการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ในผู้ที่ฉีดวัคซีนซิโนแวคและแอสตราเซเนกา เข็มที่ 2 ครบในช่วงเดือน สิงหาคม – ตุลาคม ให้กระตุ้นด้วยวัคซีนแอสตราเซเนกาเป็นหลัก และผู้ที่ฉีดวัคซีนแอสตราฯ 2 เข็ม เมื่อเดือนสิงหาคม ให้กระตุ้นด้วยไฟเซอร์ ส่วนผู้ที่ฉีดวัคซีนชนิดเชื้อตาย คือ ซิโนแวค หรือ ซิโนฟาร์ม 2 เข็ม ครบ 4 สัปดาห์ขึ้นไป ให้กระตุ้นด้วยแอสตราเซเนกา และผู้ที่เคยฉีดวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ ก่อนติดเชื้อให้กระตุ้นด้วยแอสตราเซเนกา
อ่านข่วเพิ่มเติม >>> thennew.com